ตราประจำจังหวัดลำปาง
รูปไก่ขาวยืนอยู่ในซุ้มมณฑปพระธาตุลำปางหลวง
หมายถึง ไก่เผือก เป็นสัญลักษณ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยเมืองกุกุตตนคร
(ตำนานเมืองลำปาง) และได้กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญ โดยปรากฏเครื่องหมายไก่เผือก
คู่กับ ดวงตราแผ่นดินในศาลากลางเมืองลำปาง
ตั้งแต่สมัยเริ่มเปลี่ยนที่ทำการเมืองจาก "เค้าสนามหลวง" เป็นศาลากลางเมืองนครลำปางขึ้น
ในสมัยเริ่มสร้างศาลากลางหลังแรก เมื่อ พ.ศ. 2452
ซุ้มมณฑปที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นศิลปกรรมล้านนาที่งดงามมาก
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปาง
มีองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมเกษาธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
คำขวัญของจังหวัดลำปาง
"ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น
เครื่องปั้นลือนาม
งามพระธาตุลือไกล
ฝึกช้างใช้ลือโลก"
ประวัติ นายธานินทร์ สุภาแสน
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
วัน เดือน ปีเกิด 3 เมษายน 2498
คู่สมรส
นางอินทิรา สุภาแสน
ประวัติการศึกษา
ศิลปศาสตรบัณฑิต(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต(การเมืองการปกครอง) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การศึกษาอบรม
นอ. รุ่นที่ 33
นปส.รุ่นที่ 36
ประวัติการดำรงตำแหน่ง
นายอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (ตุลาคม 2537)
นายอำเภอสอง จังหวัดแพร่ (พฤศจิกายน 2538)
นายอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย (พฤศจิกายน 2540)
นายอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย (กุมภาพันธ์ 2541)
นายอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (พฤศจิกายน 2542)
นายอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (พฤศจิกายน2543)
นายอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (ธันวาคม 2544)
นายอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ (ธันวาคม 2545)
นายอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (ธันวาคม 2548)
ปลัดจังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง (ธันวาคม 2548)
รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูน (ธันวาคม 2551)
รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่อนสอน (มิถุนายน 2552)
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงราย (ธันวาคม 2554 - 7 ตุลาคม 2555)
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (8 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556)
ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
จังหวัดลำปาง (1 ตุลาคม 2556 - ปัจจุบัน)
สีประจำจังหวัดลำปาง
สีเขียวมรกต
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ชื่อดอกไม้ ดอกธรรมรักษา
ลักษณะทั่วไปของดอกธรรมรักษา
ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า
ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร
เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว
ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์
ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์
ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก
ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด
ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อพรรณไม้ กระเจา หรือ ขะจาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Holoptelea
integrifolia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น