สถานที่ท่อเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลำปาง
|
มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศตะวันตดเฉียงใต้มีเทือกเขาขนาดใหญ่เล็กหลายลูกสลับซับซ้อนกัน
มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ระหว่าง ๒๗๐-๑๓๐๐ เมตร
เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดลำห้วยหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำวังซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดลำปางและยังเป็นแหล่งต้นน้ำสำหรับอ่างเก็บน้ำหลายแห่ง
เช่น อ่างเก็บน้ำแม่ปราบอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ปู อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่ทาย
อ่างเก็บน้ำแม่กาดอ่างเก็บน้ำแม่อาบฯ
โดยน้ำจากอ่างเก็บน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำวังเป็นประโยชน์ทางการเกษตรในอำเภอสบปราบ
อำเภอเถินและอำเภอแม่พริกจังหวัดลำปาง
การเดินทาง
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจง
ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง การเดินทางเริ่มจาก อำเภอเมือง
จังหวัดลำปาง ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ถนนพหลโยธินลงไปทางใต้ประมาณ ๕๔ กิโลเมตร
ถึงที่ว่าการอำเภอสบปราบ ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการสายบ้านหล่าย – บ้านแก่น เมื่อถึงบ้านนาไม้แดงจากถนนพหลโยธิน ประมาณ ๘ กิโลเมตร
ให้เลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ ๗ กิโลเมตร จะถึงที่ทำการชั่วคราวอุทยานแห่งชาติดอยจง
รวมระยะทางจากอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยจงประมาณ ๖๘กิโลเมตร
สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่เป็นภูเขาหิน
มีแร่รัตนชาติ สังกะสี หินแกรนิต หินอ่อน อยู่โดยทั่วไป
ลักษณะภูมิอากาศ
ในพื้นที่ระดับต่ำตามเชิงเขามีสภาพอากาศใกล้เคียงกับบริเวณอื่นๆ
ของภาคเหนือ มีอุณหภูมิต่ำสุด ๙.๙ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด ๔.๑ องศาเซลเซียส
ส่วนสภาพอากาศบนยอดเขาอุณหภูมิแตกต่างจากอากาศในพื้นที่ราบ มีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้
๔ องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยวัดได้ ๘๙๓.๖ มิลลิเมตรต่อปี
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
สภาพป่า ประกอบด้วยป่าประเภทต่างๆ ได้แก่
ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าสนเขา
สัตว์ป่า มีสัตว์ป่าที่พบหลายชนิด เช่น หมีควาย
เก้ง สิงชนิดต่างๆ หมูป่า กระแต กระรอก พังพอน อีเห็น นกชนิดต่างๆ งูชนิดต่างๆ
เป็นต้น
จุดเด่นที่น่าสนใจ
แหล่งท่องเที่ยวบนยอดดอยจง
โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาต่างๆ
ใช้เส้นทางเดินเท้าเพียงอย่างเดียวจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ถึงบริเวณยอดดอยจง
ระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า
และจุดชมพระอาทิตย์ตกยามเย็นได้ สวยงามมาก น่าประทับใจ มองเห็นทัศนียภาพรอบด้านได้
๓๖๐ องศา
- เป็นจุดชมวิวมองเห็นบริเวณป่าของพื้นที่
มีเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนลดหลั่นกันมากมาย
- จุดที่สูง ๑๓๓๙ เมตร
จากระดับน้ำทะเลจะมีอากาศหนาวเย็นสบายตลอดทั้งปี
-บริเวณยอดเขามีกล้วยไม้ชนิดต่างๆ
เป็นจำนวนมากให้ได้ชม โดยเฉพาะกล้วยไม้ฟ้ามุ่ยจะมีสีสวยงามมาก แปลกกว่าที่อื่นๆ
จะออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี
-อ่างเก็บน้ำต่างๆ
เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ตั้งอยู่โดยรอบเขตอุทยานแห่งชาติ
มีทัศนียภาพสวยงามเป็นอ่างเก็บน้ำแม่ทาย อ่างเก็บน้ำแม่ยอง อ่างเก็บน้ำแม่อาบ
อุทยานแห่งชาติแม่วะ
|
ภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงติดต่อกัน โดยมีดอยตาจี่เป็นยอดเขาสูงสุด มีความสูงประมาณ ๑,๐๒๗ เมตร จากระดับน้ำทะเล สภาพป่าแตกต่างกันไปตามระดับความสูงของพื้นที่ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าสนเขา และดิบแล้ง ลักษณะสัณฐานของเทือกเขาในอุทยานจะเป็นที่ราบเป็นแนวยาวไปตามสันเขา มีต้นไม้ขนาดใหญ่และพืชสมุนไพรอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งกล้วยไม้และดอกไม้นานาชนิด ที่นี่ยังมีความหลากหลายทางกายภาพ ทั้งชนิดของดิน และสภาพป่าทำให้พืชและสัตว์ต่างๆอาศัยอยู่หลายชนิด แต่ที่น่าสนใจคือกิ้งก่าบินที่ปัจจุบันจะพบเห็นได้ยาก แต่ยังพบเห็นได้ในอุทยานแห่งชาติแม่วะ ในระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน จะเป็นช่วงที่ป่างามมากที่สุด เต็มไปด้วยสีสันของดอกไม้ป่า ยอดเขาจะมีหมอกปกคลุม น้ำตกและลำห้วยจะมีน้ำไหลแรง นักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อนในช่วงเดือนนี้อุทยานแห่งชาติแม่วะ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นต้นกำเนิดของน้ำตกแม่วะ มีพื้นที่ ๓๖๘,๑๒๕ ไร่ หรือ ๕๘๙ ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต่างๆ ในอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานฯ
มีน้ำตกแม่วะ จัดเป็นน้ำตกที่สูงมากแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง ที่สำรวจแล้วมี ๑๒
ชั้น ชั้นที่สูงที่สุดมีความสูงประมาณ ๑๐๐ เมตร
มีชื่อว่า “ตาดหลวง” แต่ช่วงหน้าแล้งน้ำจะแห้ง
นอกจากนั้นยังมีน้ำตกที่รอการสำรวจอีกหลายแห่ง
และมีถ้ำอยู่มากมายทั้งที่ทำการสำรวจแล้ว เช่น ถ้ำน้ำผ่าผางาม
และกำลังจะทำการสำรวจเพิ่มเติม
ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
มีบริการบ้านพักและสถานที่กางเต็นท์ไว้บริการ
การเดินทาง
จากลำปางมาตามทางหลวงหมายเลข ๑
เลยอำเภอเถินมาประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ถึงหลัก กม.ที่ ๔๙๘-๔๙๗
จะมีทางแยกขวามือข้างโรงเรียนแม่วะวิทยาเข้าไปประมาณ ๕ กิโลเมตร
ทีทางแยกซ้ายมือเป็นทางคอนกรีตไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วะ
ซึ่งอยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำของหมู่บ้าน
หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางให้ลงที่ป้อมตำรวจแม่วะ
จะมีมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เข้ามาที่อุทยานฯราคาไม่เกิน ๓๐ บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่อุทยานแห่งชาติแม่วะ
ตำบลแม่วะ อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ๕๒๒๓๐
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน
มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอเมืองปานอำเภอแจ้ห่มและอำเภอเมืองจังหวัดลำปางมีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
มีเนื้อที่ประมาณ ๕๙๒ตารางกิโลเมตร ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
๒๘ กรกฎาคม
๒๕๓๑เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างลำปางและเชียงใหม่ฤดูที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวและมีอากาศเย็นสบาย
คือช่วงเดือน พฤศจิกายน –กุมภาพันธ์
สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ
บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน
มีหลายบ่อตั้งอยู่รวมกันในพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่
บริเวณที่ทำการอุทยานฯสภาพในบ่อน้ำร้อนเต็มไปด้วยโขดหินน้อยใหญ่
น้ำพุร้อนมีกลิ่นกำมะถันอ่อนๆอุณหภูมิเฉลี่ย ๗๓ องศาเซลเซียส
มีบริการห้องอาบน้ำแร่ ๑๑ หลังตกแต่งด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ อย่างสวยงาม
น้ำตกแจ้ซ้อน อยู่ถัดจากบ่อน้ำร้อนขึ้นไป ๑
กิโลเมตรเป็นธารน้ำตกที่มีแอ่งน้ำรองรับอยู่ตลอดสายมีทั้งสิ้น ๖ ชั้น
มีต้นกำเนิดจากขุนห้วยแม่มอญ ไหลผ่านหุบเขาสูงชัน นอกจากนี้ยังมีน้ำตกอีก ๒
แห่งคือน้ำตกแม่มอญและน้ำตกแม่ขุน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแจ้ซ้อนระยะทางประมาณ
๓ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ ๑ชั่วโมง ๓๐ นาทีโดยเส้นทางจะผ่านจุดสื่อความหมาย ๒๔
จุด
ผ่านสภาพป่าและพรรณไม้ที่น่าสนใจหลายชนิดรวมถึงอาจพบสัตว์หายากอย่างนกเขนเทาหางแดงและปลาปุงแห่งลำห้วยแม่มอญด้วยเช่นกันเป็นเส้นทางที่เหมาะสำหรับเยาชนที่ต้องการจะศึกษาธรรมชาติเยาชนหรือนักท่องเที่ยวจะได้ศึกษาพรรณไม้ต่างๆ
เช่น ต้นก๋ง กวาวเครือ หรือ ยางปายระบบนิเวศน์ เช่น วงจรชีวิตหนอนรถด่วน
และสภาพภูมิศาสตร์โดยรอบลานน้ำพุร้อนอะไรทำให้เกิดบ่อน้ำพุร้อน
ทำไมน้ำพุร้อนทำให้ไข่แดงสุกแต่ไข่ขาวเหลว หรือจั๊กจั่นน้ำแร่ เป็นอย่างไร
(จั๊กจั่นน้ำแร่จะมีชุกในช่วงเดือน มีนาคม – พฤษภาคม)แอ่งอาบน้ำอุ่นที่เกิดจากน้ำร้อนบ่อน้ำพุร้อนซึ่งมาบรรจบกับน้ำเย็นที่มาจากน้ำตกแจ้ซ้อนในอดีตชาวบ้านจะแช่อาบน้ำในบ่อน้ำอุ่นนี้สำหรับกิจกรรมต่างๆในอุทยานฯจะใช้ไฟฟ้าที่ผลิตเองจาก
โรงไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งจะอยู่ในเส้นทางนี้ด้วย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ๖๐
กิโลวัตต์หรือขับรถขึ้นไปดูก็ได้ เป็นระยะทางประมาณ ๕ กิโลเมตร
แต่ต้องใช้รถขับเคลื่อน ๔ ล้อเพราะสภาพทางค่อนข้างเละและชัน
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่เปียกระยะทางประมาณ
๓.๗ กิโลเมตร เป็นเส้นทางวงรอบเลาะเลียบริมลำห้วยแม่เปียกผ่านจุดสื่อความหมาย ๑๙
จุด ใช้เวลาเดินประมาณ ๒ ชั่วโมง ๓๐
นาทีซึ่งไม่เพียงแต่จะได้รับความสุนทรีย์และความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์ยังจะได้เข้าใจและรู้จักการนำทรัพยากรจากป่ามาใช้ประโยชน์ด้วย
เช่นน้ำมันยางสารพัดประโยชน์ที่นำมาใช้สำหรับเดินเครื่องยนต์จนถึงทำน้ำมันใส่แผลไผ่ข้าวหลามที่มีเปลือกบางเผาง่าย
เมี่ยง(ชา)ที่ใบอ่อนจะนำมานึ่งแล้วหมักทำเป็นเมี่ยงนิยมรับประทานเป็นของว่างใช้ต้อนรับแขกทางภาคเหนือของไทยยอดอ่อนนำมาอบทำให้แห้งแล้วชงกับน้ำร้อนดื่ม
เป็นน้ำชาซึ่งเมี่ยง(ชา)จะมีสารคาเฟอีนออกฤทธิ์เช่นเดียวกับกาแฟ แหย่ง
ใบใช้ห่ออาหารแทนใบตองหรือนำลำต้นไปตากให้แห้งแล้วสานทำเป็นเสื่อหรือแม้แต่การสร้างฝายน้ำล้นที่นำไปผลิตไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับนำมาใช้ภายในอุทยานและน้ำที่นำมาใช้ในกระบวนการก็จะปล่อยให้ไหลลงสู่น้ำตกแจ้ซ้อนต่อไป
ระหว่างเส้นทางถ้าโชคดีอาจพบหมูป่าและเต่าปูลูที่มีลักษณะไม่เหมือนเต่าทั่วไปและกำลังจะสูญพันธ์เต่าปูลูมีหางยาวหัวและขาไม่สามารถหดในกระดองเหมือนเต่าทั่วไปมีความสามารถในการปีนป่ายและกินสัตว์จำพวกปูหรือปลาเป็นอาหาร
ในเส้นทางจะพบน้ำตกวังไฮและน้ำตกแม่เปียก
ซึ่งน้ำตกแม่เปียกนั้นมี๓ ชั้น และชั้นที่ ๓ จะมีความสวยงามที่สุดโดยมีความสูงประมาณ
๑๐๐
เมตรด้านล่างบริเวณแอ่งรองรับน้ำจากน้ำตกจะมีกล้วยป่าขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไปทำให้มีความงามไปอีกมุมมองหนึ่ง
ข้อควรปฏิบัติในการเดินศึกษาธรรมชาติเพื่อเป็นการรักษาสภาพธรรมชาติให้คงอยู่ตลอดไปและรักษาไว้ให้ผู้อื่นได้มีโอกาสชื่นชมในสิ่งที่เราได้เห็นนักท่องเที่ยวควรเดินในทางที่จัดไว้เพื่อที่จะไม่ให้ตัวเราเข้าไปทำลายระบบนิเวศน์โดยไม่รู้ตัวและห้ามทิ้งขยะโดยเด็ดขาด
เพราะทำให้บริเวณดูไม่งามตาและยังอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าด้วย เช่น
ขวดแก้วแตก หรือเปลือกพลาสติกหากสัตว์กินเข้าไปจะไม่ย่อยและอาจตายได้
ห้องอาบน้ำแร่อุณหภูมิที่ห้องอาบน้ำแร่จะอยู่ที่ระดับ
๓๙-๔๒ องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถใช้แช่อาบได้ประโยชน์ของการอาบน้ำแร่คือ
ช่วยบำบัดความเมื่อยล้าของร่างกายช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น
ช่วยรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้และยังช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับกระดูก
แต่น้ำแร่จากที่นี่ไม่สามารถใช้ดื่มได้เพราะยังมีแร่ธาตุบางชนิดสูงกว่ามาตรฐาน
ที่อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนนี้สามารถไปเที่ยวได้ตลอดปีแต่ช่วงฤดูหนาวจะมีนักท่องเที่ยวมากที่สุด
สิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานฯอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนนอกจากจะได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
(tourism awards) ปี
๒๕๔๓ประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางธรมชาติยอดเยี่ยมในด้านการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในอุทยานได้อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติแล้วสภาพแวดล้อมภายในอุทยานฯยังตกแต่งได้อย่างสวยงามไม่แพ้รีสอร์ทเอกชนเหมาะสำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวแบบครอบครัว
บ้านพักในอุทยานมีด้วยกัน ๑๑ หลังพักได้หลังละ ๖-๒๐
คนสะอาดและมีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมหรือหากบ้านพักไม่พอบริเวณตั้งเต็นท์ที่จัดไว้ก็น่าพักไม่แพ้กันมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆบริการไว้ให้
เช่นไฟฟ้า เตาประกอบอาหาร และห้องน้ำสะอาด ค่ากางเต็นท์ คนละ ๓๐ บาท
และในอุทยานฯยังมีร้านอาหารสวัสดิการบริการรายละเอียดติดต่อ กรมป่าไม้ โทร. ๐ ๒๕๗๙
๕๗๓๔, ๐ ๒๕๗๙ ๗๒๒๓ อุทยานฯแจ้ซ้อน โทร. ๐๕๔๒๒ ๙๐๐๐
การเดินทาง
อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนอยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางประมาณ๗๕ กิโลเมตร
เป็นทางลาดยางตลอด มีให้เลือก ๒ เส้นทาง คือ
- จากสนามกีฬาประจำจังหวัดไปตามถนนสายลำปาง
-ห้างฉัตร (สายเก่า)เลี้ยวขวาที่สามแยกบ้านน้ำโท้งไปตามถนนสาย ๑๑๕๗
ลำปาง-ห้วยเป้ง-เมืองปาน ไปประมาณ๕๕ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย ๑๒๘๗
เมืองปาน-แจ้ห่ม ไปประมาณ ๒ กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย ๑๒๕๒ ข่วงกอม-ปางแฟง อีก
๑๑ กิโลเมตรจะถึงที่ทำการอุทยานฯ
- จากตัวเมืองลำปางไปตามทางหลวงหมายเลข
๑๐๓๕ลำปาง-แจ้ห่ม ระยะทางประมาณ ๕๘ กิโลเมตรเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข
๑๒๘๗ซึ่งเป็นทางเข้าไปอำเภอเมืองปาน แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยก ใช้ทางหลวงหมายเลข
๑๒๕๒ไปประมาณ ๑๑ กิโลเมตรจะถึงที่ทำการอุทยานฯซึ่งอยู่ด้านซ้ายมือ
มีคิวรถโดยสารประจำทางสายลำปาง-แจ้ซ้อนถึงที่ทำการอุทยานฯอยู่บริเวณถนนตลาดเก่าราคา
๕๐ บาท จากลำปางมาเที่ยวแรก ๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. จากแจ้ซ้อนไม่เกิน ๐๙.๐๐
น.หรือเหมารถมาประมาณ ๓๕๐ บาท ระยะทาง ๖๘ กิโลเมตร
วัดพระธาตุจอมปิง
|
วัดพระธาตุจอมปิง
ตั้งอยู่ที่หมู่ ๕ บ้านจอมปิง ตำบลนาแก้ว อำเภอเกาะคา
อยู่ห่างจากอำเภอเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๒๖ กิโลเมตร
ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย วัดพระธาตุจอมปิงเป็นวัดโบราณ
วัดนี้มีความมหัศจรรย์ของการเกิดเงาสะท้อนเป็นภาพสีธรรมชาติขององค์พระธาตุ
ผ่านรูเล็กบนหน้าต่างมาปรากฏบนพื้นภายในพระอุโบสถตลอดเวลาที่มีแสงสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน
และทางวัดยังจัดที่สำหรับแสดงโบราณวัตต่าง
ๆ ที่ขุดพบในบริเวณนี้ด้วย และภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุจอมปิง
จัดแสดงเศียรพระพุทธรูป กำไลลูกปั้นหิน ชามตราไก่ ถ้วยที่ทำจากกระดูกสัตว์
การเดินทาง นั้นใช้เส้นทางเดียวกันกับวัดพระธาตุลำปางหลวง
แต่แยกซ้ายตรงที่ว่าการอำเภอไปอีก ๑๗กิโลเมตร
น้ำตกวังแก้ว
|
น้ำตกวังแก้วน้ำตกวังแก้วเป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในอุทยานแห่งชาติดอยหลวงซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๓ และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดพะเยาเชียงรายและลำปาง
รวมเนื้อที่ประมาณ ๑,๑๗๐
ตารางกิโลเมตรสภาพภูมิประเทศเป็นเขาสูงทอดตัวแนวเหนือ-ใต้
มีดอยหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ
ป่าดิบชื้นและป่าเต็งรังปะปนกัน มีสัตว์ป่าและนกหลายชนิดที่ทำการอุทยานฯ
ตั้งอยู่ที่บริเวณน้ำตกปูแกง อ.พาน จ.พะเยา
น้ำตกวังแก้ว
เป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดของจังหวัดลำปาง มีชั้นน้ำตกประมาณ ๑๑๐ ชั้น
แต่เป็นชั้นใหญ่ ๗-๘ ชั้น
เมื่อขึ้นไปถึงชั้นบนสุดของน้ำตกจะพบหมู่บ้านชาวเขาเผ่าเย้าที่บ้านป่าคาหลวง
และบ้านส้านซึ่งมีทางขึ้นค่อนข้างชัน
ที่น้ำตกวังแก้วยังมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ๑.๔ กิโลเมตร
นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังมี น้ำตกวังทอง ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำตกวังแก้ว
ค่าธรรมเนียมเข้าชม เด็ก ๑๐ บาท ผู้ใหญ่ ๒๐
บาท
สามารถกางเต็นท์ได้แต่ต้องเตรียมเสบียงไปเอง
การเดินทาง ใช้เส้นทางสายลำปาง-แจ้ห่ม-วังเหนือ
ระยะทางประมาณ ๑๑๐ กิโลเมตร มีทางเข้าสู่น้ำตกทั้งสองข้างที่ว่าการอำเภอวังเหนือ
จากปากทางเข้าสู่น้ำตกวังแก้วเป็นระยะทางประมาณ ๒๔ กิโลเมตร สภาพถนนเป็นทางลาดยาง
ส่วนทางเข้าน้ำตกวังทองจากปากทางใหญ่ที่เข้ามาจะถึงก่อนน้ำตกวังแก้วประมาณ ๙
กิโลเมตร แต่เส้นทางที่เข้าไปค่อนข้างลำบากเพราะเป็นถนนลูกรัง
หากเดินทางโดยรถประจำทางสามารถโดยสารรถสองแถวสีฟ้าสายลำปาง-วังเหนือมาลงหน้าที่ว่าการอำเภอและต้องเช่ารถต่อเข้าไปยังน้ำตก
แม่เมาะ
|
เหมืองลิกไนต์ อยู่ในเขตอำเภอแม่เมาะ
ไปตามถนนสายลำปาง-เด่นชัย(แพร่) เป็นระยะทาง ๑๐ กิโลเมตร
จากนั้นแยกซ้ายเข้าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เป็นระยะทางประมาณ ๒๖
กิโลเมตรสามารถเช่ารถสองแถวซึ่งจอดอยู่บริเวณตลาดบริบูรณ์ในตัวเมือง
ใช้เวลาเดินทางประมาณ๓๐ นาที
ลิกไนต์
เป็นถ่านหินประเภทหนึ่งที่มีการค้นพบในบริเวณนี้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐ มีปริมาณถึง ๖๓๐
ล้านตัน และมีอายุประมาณ ๔๐ ล้านปี พื้นที่เหมืองทั้งหมดเป็นของกรมป่าไม้ มีประมาณ
๒๐,๐๐๐ ไร่ สามารถใช้ได้อีกประมาณ ๕๐ ปี
บริเวณเหมืองมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินชนิดนี้เป็นเชื้อเพลิงตั้งอยู่หลายโรง
ถึงแม้นักท่องเที่ยวจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงไปบริเวณขุดเจาะถ่านหินเพราะมีอันตรายจากวัตถุระเบิดที่ใช้ทำเหมือง
แต่กฟผ.ได้จัดทำจุดชมวิวสำหรับนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นสวนหย่อม
ตกแต่งปลูกไม้ดอกไม้ประดับต่างๆ ณ จุดนี้ ซึ่งสามารถมองเห็นการทำงานของรถขุดตักแร่ซึ่งอยู่ห่างออกไปเบื้องล่างได้เป็นมุมกว้าง
ในบริเวณเหมืองมีบ้านพักรับรองของกฟผ. สนามกอล์ฟ
และสโมสร สอบถามรายละเอียดได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ โทร. ๐ ๕๔๒๕
๒๗๓๐-๑, ๐ ๕๔๒๕ ๒๗๒๔
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น