วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับ

จัดทำโดย


นาย อภิสิทธิ์  สนสายสิงห์
ชั้น  ปวช  3/8
แผนก  คอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เสนอ


รอง สุดฤทัย  ชัยแสงฤทธิ์
อาจารย์ผู้สอนวิชาโครงการ

อาจารย์ที่ปรึกษาวิชาโครงการ


อาจารย์ ชูชีพ  สมใจ


วิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานเหนือ


ประชากรจังหวัดลำปาง


           ประชากรจังหวัดลำปางมีจำนวนทั้งสิ้น 781,260 คน เป็นชาย 386,151 คน หญิง 395,109 คน อำเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อำเภอเมืองลำปาง (รวมเขตเทศบาลนครฯ) มีจำนวน 229,947 คน 

ที่
อำเภอ/เทศบาล (พื้นที่ ตร.กม.)
จำนวนราษฎร
ชาย
หญิง
รวม
1
อำเภอเมืองลำปาง (1,156.623 ตร.กม.)
111,567
118,380
229,947
2
อำเภอเกาะคา (551.152 ตร.กม.)
31,218
32,763
63,981
3
อำเภอแจ้ห่ม (1,349.121 ตร.กม.)
21,276
21,383
42,659
4
อำเภอเถิน (1,634.763 ตร.กม.)
31,085
31,843
62,928
5
อำเภอห้างฉัตร (684.757 ตร.กม.)
25,195
26,192
51,387
6
อำเภอแม่ทะ (914.650 ตร.กม.)
35,003
35,031
70,034
7
อำเภองาว (1,815.313 ตร.กม.)
29,455
29,488
58,943
8
อำเภอวังเหนือ (1,034.323 ตร.กม.)
23,017
22,309
45,326
9
อำเภอสบปราบ (502.464 ตร.กม.)
14,167
14,358
28,525
10
อำเภอแม่พริก (538.921 ตร.กม.)
10,561
10,907
21,468
11
อำเภอเสริมงาม (631.727 ตร.กม.)
16,601
16,156
32,757
12
อำเภอแม่เมาะ (855,044 ตร.กม.)
19,592
19,128
38,720
13
อำเภอเมืองปาน (865.103 ตร.กม.)
17,414
17,171
34,585
รวม
386,151
395,109
781,260







ชมเมืองบนรถม้า





ชมเมืองบนรถม้า
นับเป็นเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียว ที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอน ของทางภาคเหนือแต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียว ที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบ จนกระทั่งวันนี้ ทุกวันนี้มีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยวทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้า โดย เฉพาะเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปางกำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมือง เล็ก 150 บาท (25-30 นาที) รอบเมืองกลาง 200-300 บาท (45 นาที-1 ชั่วโมง) รอบเมืองใหญ่ 500 บาท (1.30 - 2 ชั่วโมง) หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้า ศาลากลางหลังเก่า บริการระหว่างเวลา 05.00-20.00 น. ส่วนบริเวณหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง บริการระหว่างเวลา 05.00-21.00 น.
เส้นทางรอบเมืองเล็ก
               ขึ้นที่ศาลากลางเก่ารถจะเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกเข้าถนนทิพย์ช้าง สองฟากถนนมีร้านค้า ที่เป็นตึก แถวเก่าๆ ให้ชมก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่สามแยกการไฟฟ้าฯจะเห็นแม่น้ำวังไหลขนาน ไปกับถนนทาง ด้านขวาผ่านห้าแยกหอนาฬิกา ซึ่งเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของเมือง นักท่องเที่ยว มักถ่ายภาพ คู่กับรถม้าเป็นที่ระลึกกันที่จุดนี้ จากนั้นรถม้าจะพาเข้าถนนบุญวาทย์ อันเป็นย่านใจกลางธุรกิจการค้า ตึกแถวสองฟากเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ และมาสิ้นสุดตรงจุดเดิม ใช้เวลา ประมาณ 25 - 40 นาที
เส้นทางรอบเมืองใหญ่
                ขึ้นที่ศาลากลางเก่าเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถม้ารอบเมืองเล็กไปจนถึง สามแยกการ ไฟฟ้าฯ แต่ไม่เลี้ยวซ้ายไปหอนาฬิกาจะตรงไปตามถนนวังขวาเลียบแม่น้ำวัง ผ่านบ้านไม้เก่า ชื่อบ้านบะเก่า ทางด้านซ้ายมือ ผ่านสวนธารณะเขลางค์นคร เลี้ยวซ้ายข้างสวนมาผ่านย่านตลาด อัศวิน ซึ่งเป็นแหล่ง บันเทิงยามค่ำคืนที่คึกคักบนถนนท่าคร่าวน้อยผ่านห้าแยกหอนาฬิกา เข้าถนน บุญวาทย์ และถ้าใช้เวลานาน จะไปที่หลวงพ่อเกษมและวัดเจดีย์ซาว สิ้นสุดทางที่จุดเดิมใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
ติดต่อได้ตามที่อยู่ เลขที่ 112/1 ถนนป่าไม้ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง
โทร. 0 5421 9255, 0 5422 4166, 0 5422 5555 หรือ 08 1881 2847
นับเป็นเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาล ที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียว ที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปาง และยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอน ของทางภาคเหนือแต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียว ที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบ จนกระทั่งวันนี้ ทุกวันนี้มีรถม้าเหลืออยู่ไว้เพื่อการบริการนักท่องเที่ยวทางจังหวัดได้จัดเส้นทางสำหรับรถม้า โดย เฉพาะเลาะเลียบแม่น้ำวังโดยสมาคมรถม้าลำปางกำหนดค่าโดยสารแน่นอนไว้ 3 อัตรา คือ รอบเมือง เล็ก 150 บาท (25-30 นาที) รอบเมืองกลาง 200-300 บาท (45 นาที-1 ชั่วโมง) รอบเมืองใหญ่ 500 บาท (1.30 - 2 ชั่วโมง) หรือเช่าชั่วโมงละ 300 บาท คิวจอดรถม้าอยู่ที่หน้า ศาลากลางหลังเก่า บริการระหว่างเวลา 05.00-20.00 น. ส่วนบริเวณหน้าโรงแรมทิพย์ช้างลำปาง โรงแรมเวียงลคอร และโรงแรมลำปางเวียงทอง บริการระหว่างเวลา 05.00-21.00 น.

เส้นทางรอบเมืองเล็ก
               ขึ้นที่ศาลากลางเก่ารถจะเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกเข้าถนนทิพย์ช้าง สองฟากถนนมีร้านค้า ที่เป็นตึก แถวเก่าๆ ให้ชมก่อนจะเลี้ยวซ้ายที่สามแยกการไฟฟ้าฯจะเห็นแม่น้ำวังไหลขนาน ไปกับถนนทาง ด้านขวาผ่านห้าแยกหอนาฬิกา ซึ่งเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของเมือง นักท่องเที่ยว มักถ่ายภาพ คู่กับรถม้าเป็นที่ระลึกกันที่จุดนี้ จากนั้นรถม้าจะพาเข้าถนนบุญวาทย์ อันเป็นย่านใจกลางธุรกิจการค้า ตึกแถวสองฟากเป็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ และมาสิ้นสุดตรงจุดเดิม ใช้เวลา ประมาณ 25 - 40 นาที

เส้นทางรอบเมืองใหญ่
                ขึ้นที่ศาลากลางเก่าเป็นเส้นทางเดียวกับเส้นทางรถม้ารอบเมืองเล็กไปจนถึง สามแยกการ ไฟฟ้าฯ แต่ไม่เลี้ยวซ้ายไปหอนาฬิกาจะตรงไปตามถนนวังขวาเลียบแม่น้ำวัง ผ่านบ้านไม้เก่า ชื่อบ้านบะเก่า ทางด้านซ้ายมือ ผ่านสวนธารณะเขลางค์นคร เลี้ยวซ้ายข้างสวนมาผ่านย่านตลาด อัศวิน ซึ่งเป็นแหล่ง บันเทิงยามค่ำคืนที่คึกคักบนถนนท่าคร่าวน้อยผ่านห้าแยกหอนาฬิกา เข้าถนน บุญวาทย์ และถ้าใช้เวลานาน จะไปที่หลวงพ่อเกษมและวัดเจดีย์ซาว สิ้นสุดทางที่จุดเดิมใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง
ติดต่อได้ตามที่อยู่ เลขที่ 112/1 ถนนป่าไม้ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง
โทร. 0 5421 9255, 0 5422 4166, 0 5422 5555 หรือ 08 1881 2847

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง




วัดพระเจดีย์ซาวหลัง
                วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตั้งอยู่ที่ตำบลต้นธงชัย ห่างจากตัวเมือง 1.5 กิโลเมตร ตามถนนสาายลำปาง แจ้ห่ม คำว่า "ซาว" แปลว่า ยี่สิบ คำว่า "หลัง" แปลว่า องค์ ฉะนั้น วัดเจดีย์ซาวหลัง จึงแปล ได้ว่า วัดที่มีเจดีย์ 20 องค์ จากหลักฐานการขุดพบพระเครื่องสมัย หริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ ทำให้ สันนิษฐานได้ว่าวัดนี้ สร้างมานานกว่าพันปี

จุดเด่นของวัด

คือองค์พระธาตุซาวที่มีศิลปะล้านนาผสมศิลปะพม่าเชื่อกันว่าหากใครนับได้ครบ 20 องค์ ถือว่า เป็นคน มีบุญ ข้างหมู่พระเจดีย์มีวิหารเก่าแก่หลังเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดปางสมาธิศิลปะ เชียงแสน ชาวบ้านเรียกว่า พระพุทธรูปทันใจ พระอุโบสถหลังใหญ่ซึ่งประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัยที่มีพุทธลักษณะงดงามบานประตูทั้งสามเป็นของโบราณ เขียนลวดลายรดน้ำละเอียด สวยงาม เสาซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายกระจกสีเป็นลักษณะ ศิลปะสมัยใหม่ และที่ศาลาการเปรียญ เรือนไม้ชั้นเดียว ด้านหลังพระอุโบสถเป็นพิพิธภัณฑ์สถาน เขลางค์นครแสดงโบราณวัตถุที่ชาวบ้านนำมาถวาย เมื่อปี พ.ศ.2526 ชาวบ้านได้ขุดพบ พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์หนัก 100 บาทสลึง มามอบให้แก่ทางวัด ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้ชื่อว่า พระแสนแช่ทองคำ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21 ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้วครึ่ง สูง 15 นิ้ว เป็นพระพุทธรูป ทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็น โบราณวัตถุแห่งชาติ

วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พระธาตุลำปางหลวง



ลำปาง...เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในประเทศไทยที่ยังคงอารยธรรมล้านนาไทยไว้ไม่เสื่อมคลายทั้งวิถีชีวิขนบธรรมเนียม ประเพณี วัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ รวมถึง "รถม้า" และ "ถ้วยชามตราไก่" อันเลื่องชื่อ เอกลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัด
 แต่สถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด! เมื่อไปเยือนเขลางค์นคร นั่นก็คือ "วัดพระธาตุลำปางหลวง" วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ และเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อีกทั้ง พระธาตุลำปางหลวง ยังเป็น พระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน

พระธาตุลำปางหลวง

 เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่











สภาพทั่วไปของจังหวัดลำปาง



1. ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน ประมาณ 602 กม. ตามทางรถไฟประมาณ 625 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 12,533.961 ตร.กม. หรือประมาณ 7,833,726 ไร่ มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของภาคเหนือ รองจากเชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงถึง 7 จังหวัด ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดแพร่ และสุโขทัย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดลำพูน

2. สภาพภูมิประเทศ
จังหวัดลำปาง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 268.80 เมตร พื้นที่มีลักษณะเป็นรูปยาวรี ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง มีภูเขาสูงอยู่ทั่วไป ทอดตัวยาวตามแนวทิศเหนือไปทางทิศใต้ของจังหวัด และในบริเวณตอนกลางของจังหวัดบางส่วนมีที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ และตามลักษณะทางกายภาพทางด้านธรณีสัณฐานวิทยา จังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินที่ยาวและกว้างที่สุดในภาคเหนือ เรียกว่า อ่างลำปาง ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
บริเวณตอนบนของจังหวัด เป็นที่ราบสูง ภูเขา และเป็นป่าค่อนข้างทึบ อุดมสมบูรณ์ด้วยไม้มีค่า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเมืองปาน แจ้ห่ม วังเหนือ และงาวบริเวณตอนกลางของจังหวัด เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อำเภอห้างฉัตร เมืองลำปาง เกาะคา แม่ทะ และสบปราบบริเวณตอนใต้ของจังหวัด เป็นป่าไม้รัง บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้แก่ พื้นที่อำเภอเถิน แม่พริก บางส่วนของอำเภอเสริมงาม และแม่ทะ

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การคมนาคมในจังหวัดลำปางและการไปท่องเที่ยวอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง



 



1.โดยรถรถยนต์ 
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถึงกิโลเมตรที่ 52 แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านสิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านกำแพงเพชร ตาก ตรงเข้าสู่จังหวัดลำปาง รวมระยะทางทั้งสิ้น599 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง หรือจะใช้เส้นทางสายใหม่จากพิษณุโลก เข้าเด่นชัยแล้วเดินทางเข้าจังหวัดลำปาง
 2. รถไฟ 
การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดบริการรถด่วน รถเร็วและรถธรรมดา จากกรุงเทพฯ ไปลำปางทุกวัน สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 22204444 และที่สถานีรถไฟลำปาง โทร. 0 5421 7024
3. รถโดยสารประจำทาง 
บริษัท ขนส่ง จำกัด จัดบริการรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ไปลำปางทุกวัน รายละเอียดติดต่อที่
โทร. 0 2936 2852-66 หรือ www.transport.co.th สถานีขนส่งลำปาง โทร. 0 5422 7410 นอกจากนี้ ยังมี บริษัทเอกชนบริการรถประจำทางไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพฯ-ลำปาง ได้แก่ บริษัท วิริยะทัวร์  กรุงเทพฯ
โทร. 0 2936 2827 สาขา ลำปาง โทร. 0 5421 7373 บริษัท นิววิริยะทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 2205-6 ลำปาง โทร. 0 5422 5889, 0 5422 7106 บริษัท สมบัติทัวร์ โทร. 0 2936 2495-6 บริษัท อินทรา โทร. 0 2936 2492-3 บริษัท ทันจิตต์ทัวร์ โทร. 0 2936 3213-4 บริษัท พรพิริยะทัวร์  กรุงเทพฯ 0 2936 2939,  0 2936 3554 ลำปาง โทร. 0 5422 8706, 0 5421 8199จากสถานีขนส่งลำปางที่ถนนพหลโยธินมีรถโดยสารธรรมดาและ ปรับอากาศไปยังจังหวัดเชียงราย แพร่ นครสวรรค์ และน่าน นอกจากนี้ยังมีรถจากเชียงใหม่วิ่งผ่านลำปาง ไปยัง จังหวัดในภาคเหนือ เช่น แพร่ พิษณุโลก แม่สาย แม่สอด และบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชสีมา เป็นต้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งลำปาง โทร. 0 5422 7410
4.เครื่องบิน 
สายการบิน พีบีแอร์ บริการเที่ยวบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ลำปาง  สำรองที่นั่ง โทร. 0 2261 0220-9 ลำปาง โทร. 0 5422 6238 

การเดินทางจากอำเภอเมืองลำปางไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง
- กิโลเมตร
อำเภอเกาะคา
13 กิโลเมตร
อำเภอห้างฉัตร
18 กิโลเมตร
อำเภอแม่ทะ
26 กิโลเมตร
อำเภอเสริมงาม
40 กิโลเมตร 
อำเภอแม่เมาะ
45 กิโลเมตร
อำเภอแจ้ห่ม
52 กิโลเมตร
อำเภอสบปราบ
59 กิโลเมตร 
อำเภอเมืองปาน
69 กิโลเมตร 
อำเภองาว
83 กิโลเมตร
อำเภอเถิน
96 กิโลเมตร
อำเภอวังเหนือ
107 กิโลเมตร 
อำเภอแม่พริก
125 กิโลเมตร
การเดินทางจากจังหวัดลำปางไปยังจังหวัดใกล้เคียง
จังหวัดลำพูน
71 กิโลเมตร
จังหวัดสุโขทัย
79 กิโลเมตร 
จังหวัดเชียงใหม่
92 กิโลเมตร
จังหวัดพะเยา
131 กิโลเมตร 
จังหวัดเชียงราย
225 กิโลเมตร
จังหวัดตาก
241 กิโลเมตร
จังหวัดแพร่ 
244 กิโลเมตร